วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 14

ให้นักศึกษาศึกษา Power point  แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13

The Healthy Classroom : ----------- โดย อาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์               แนวคิดของ Steven Hastings (2006) จากหนังสือที่ชื่อว่า
       
ในวันนี้ กล่าวถึงความสาคัญของ
"The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สาคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน 2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom เพราะในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียนซ้า เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทาให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้องเรียนที่ให้ความสาคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่อง “ความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน” เพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสาคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทาร้ายผู้อื่น/ทาลายสิ่งของ
        คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ

         1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
       2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า “มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง” แต่ไม่เคยถามว่า “หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก         กำลังกายไหม)
       3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้) 

       4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
       5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทาความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจาแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
       6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ “ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น” โดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
       7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา “การควบคุมอารมณ์”)
       8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
       9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
       

        การทบทวนคำถาม ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เรามองเห็นสภาพปัจจุบัน-ปัญหา ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่อง การพัฒนาเด็กแบบไม่สมดุล ที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ มากกว่าการพัฒนา ด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสาคัญ จากการศึกษาแนวคิด เรื่อง The Healthy Classroom Hasting(2006) ได้เขียนถึงปัญหา การบริโภคอาหารไร้คุณภาพ(Junk Food) ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาการทำร้ายร่างกายตนเอง ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน ยกเว้นเราจะมีการทบทวนสภาพปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า จะนำไปสู่การกาหนดยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่เป็นรูปธรรม ในโอกาสต่อไปได้อย่างแน่นอน ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน
          จากคำถามดังกล่าวให้สรุปและตอบลงในบล็อกของนักศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 12

ระหว่างวันที่ 17-23 มกราคม 2554 หลักสูตรสังคมศึกษาได้จัดทัศนศึกษาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน สุโขทัย พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ซึ่งกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการบูรณาการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กิจกรรมทัศนศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้  ให้นักศึกษาเล่าบรรยากาศ การเดินทาง สิ่งที่พบและเกิดองค์ความรู้ใหม่ ลงในบล็อกของนักศึกษาและนำเสนอ    ผลงานของนักศึกษาเป็นรายบุคคล เป็นโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ให้นำมาใส่ลงบล็อกของนักศึกษา  และสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้ไปทัศนศึกษาให้นำเสนอว่าในช่วงเวลาดังกล่าว นักศึกษาทำกิจกรรมอะไร ได้องค์ความรู้อะไร สรุปเขียนลงในบล็อก และนำเสนอผลงานที่นักศึกษาได้ทำ ทำเป็น Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ลงในบล็อกของนักศึกษาเช่นกัน
      สรุปงานนักศึกษาจะมี 2 ชิ้น คือ
      1) สรุปเล่าเหตุการณ์การเดินทางและองค์ความรู้ที่พบลงนบล็อกของนักศึกษา 
      2) นำเสนอรูปภาพมีคำบรรยายประกอบรูปภาพ ลงในโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมอื่น ๆ
ในกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการศึกษานอกสถานที่ นักเรียนต้องออกแบบเก็บข้อมูลให้ละเอียดมากที่สุด

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 10

ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 10
1)  กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น